สำนักงานกฎหมาย KNInterlaw

ประกาศคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ.2564

หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร

ประกาศคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ.2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 มีผลบังคับใช้วันที่ 31 มีนาคม 2564 ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

1. ข้อความข้อความที่ใช้โฆษณาต้องไม่มีลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม เช่น

1) ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีส่วนผสมใดในของอาหาร ทั้งที่ความจริงไม่มี หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจตามที่โฆษณา
2) ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือความไม่เข้าใจในลักษณะ หรือวิธีการบริโภคอาหาร
3) ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
4) ไม่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย ศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของชาติ
5) ไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบที่จะนำมาซึ่งอันตรายหรือความรุนแรง
6) ไม่มีข้อความที่เป็นการแนะนำ รับรอง หรือยกย่องคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ที่อ้างตนหรือแสดงตนหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นบุคลากรเหล่านั้น
7) ไม่เป็นการเปรียบเทียบหรือทับถมผลิตภัณฑ์ของผู้อื่น

2. ข้อความที่ใช้โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารต้องไม่มีลักษณะที่เป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ เช่น

1) เป็นเท็จหรือเกินความจริง
2) สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคความเจ็บป่วย หรืออาการของโรค
3) สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่การทำงานของอวัยวะ หรือระบบการทำงานของร่างกาย
4) สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าบำรุงกาม บำรุงเพศ หรือเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
5) สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณหรือเพื่อความสวยงาม
6) สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน เว้นแต่กรณีอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
7) สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการกระชับสัดส่วน ดักจับไขมัน
8) การโฆษณาที่มีการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ ที่ยังไม่ผ่านการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

จากบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า เครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนจะพิจารณาไม่รับจดทะเบียน เนื่องจากเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีความคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว จะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเห็นว่า เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันหรือคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าได้

ข้อสังเกต: กฎหมายกำหนดตัวอย่างข้อความต้องห้ามโฆษณา เช่น ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ วิเศษ เลิศที่สุด ดีเลิศ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ ลํ้าเลิศ เลิศล้ำ ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลยที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล สุดเหวี่ยง ไม่มีผลข้างเคียง ไร้ผลข้างเคียง อย. รับรอง ปลอดภัย เห็นผลเร็ว

3. การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารต้องขออนุญาตจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

1) การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารที่ปรากฏบนฉลากที่ได้รับอนุมัติจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยาหากต้องการกล่าวอ้างคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติต้องได้รับการประเมิน และต้องได้รับอนุมัติฉลากก่อน
2) การโฆษณากล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือใช้คุณค่าของสารอาหารในการส่งเสริมการขายต้อง หรือการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim)
3) การโฆษณาที่มีการแสดงคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารถือว่าเป็นการโฆษณาที่ต้องนำมาขออนุญาต เช่น สด ธรรมชาติ ออร์กานิก ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ แท้ มีระบบควบคุมความปลอดภัย ดูแลตัวเอง ใส่ใจตัวเอง เสริมด้วย สดชื่น ชื่นใจ มีชีวิตชีวา ถูกสุขอนามัย ถูกสุขลักษณะ สะอาด คุณภาพ แข็งแรง ไร้สาร ผ่านการตรวจ

ท่านสามารถแชร์ความรู้, บทความและคำพิพากษาได้ที่นี่
  •  
  •  
  •  
error: Content is protected !!